หลักสูตร กฏหมายแรงงานสำหรับผู้บริหาร
กฎหมายแรงงานสำหรับผู้บริหาร
( HR Law for Management )
เป้าหมายหรือผลลัพธ์จากการฝึกอบรม :
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน เกี่ยวกับหลักกฎหมายแรงงานที่ใช้ในการบริหารงานบุคคล
2. เพื่อให้สามารถบริหารงานบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร
3. เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้กฎหมายได้อย่างเหมาะสม เพื่อเป้าหมายสูงสุดขององค์กร
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ :
ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
เนื้อหาการฝึกอบรม :
- บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารในฐานะตัวแทนนายจ้าง - หลักการใช้กฎหมายเพื่อสร้างรากฐานและความมั่นคงให้กับองค์กร - สิทธิหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานฉบับต่างๆ หลักกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงาน การโอนย้าย และข้อบังคับประเภทต่างๆ - การเลือกรูปแบบการจ้างงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานแต่ละประเภท - ลักษณะพิเศษของสัญญาจ้างแรงงานและข้อควรระวังในการตกลงกับผู้สมัครงาน - ความแตกต่างของการจ้างงานทั่วไป การจ้างเหมาค่าแรง และผู้รับเหมาช่วง - เงื่อนไขการทดลองงาน การประเมินผลงาน และการขยายเวลาการทดลองงาน - การค้ำประกันการทำงานของลูกจ้าง และการป้องกันความเสียหายจากการทำงาน - หลักการปฏิบัติต่อลูกจ้างซึ่งเป็นหญิง ลูกจ้างเด็ก และความเสมอภาคทางเพศ - อำนาจของฝ่ายบริหารในการโอนย้ายตำแหน่ง ย้ายแผนก และย้ายสถานที่ทำงาน - ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างประเภทต่างๆ หลักกฎหมายเกี่ยวกับวันเวลาทำงาน วันหยุด วันลา และค่าตอบแทนประเภทต่างๆ - การกำหนดเวลาการทำงาน จำนวนชั่วโมง และเวลาพักของงานประเภทต่างๆ - การกำหนดวันหยุด 3 ประเภท วันลา 6 ประเภท ให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจ - การลาป่วยและการหยุดงานเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจาการทำงาน - หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการเปลี่ยนวันหยุด - หลักการบริหารเพื่อป้องกันและลดปัญหาการหยุดงาน การขาดงาน และการลาป่วย - สิทธิประโยชน์ต่างๆ ของลูกจ้างรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง และรายเหมา (ตามผลงาน) - การหักเงินค่าตอบแทน เพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำงานของลูกจ้าง หลักกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์ และการสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน - หลักการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารและพนักงานลูกจ้าง - กระบวนการยุติข้อร้องทุกข์ภายในองค์กร เพื่อป้องกันปัญหาข้อพิพาทแรงงาน - ประเภทของวินัยและโทษทางวินัย รวมถึงสาเหตุของการฝ่าฝืนและการป้องกัน - ขั้นตอนการลงโทษทางวินัย (การสอบสวน หนังสือเตือน และการพักงาน) - ประเภทของการสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน (การเลิกจ้าง และการลาออก) - หลักเกณฑ์การบอกกล่าวล่วงหน้า การจ่ายค่าชดเชยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย - การป้องกันปัญหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการกระทำอันไม่เป็นธรรม - สิทธิหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างหลังสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน
|
หมายเหตุ : เนื้อหาหลักสูตรสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามความเหมาะสมและความจำเป็นในการฝึกอบรม
รูปแบบการฝึกอบรม : Group Coaching,Training และ Workshop
ระยะเวลาการฝึกอบรม : หลักสูตร 1 วัน เวลา 09.00 – 16.00 น.
วิทยากร : อาจารย์สัจพล ส่งสมบุญ (Sam)
- วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการบริหารผลงาน การพัฒนาผู้นำ และกฎหมายแรงงาน
- กรรมการผู้จัดการ บริษัท HERO Consulting จำกัด