Organizational Citizenship Behavior ( พฤติกรรมพนักงานในองค์กรที่แสดงถึงความเป็นพลเมืองที่ดี)

ผู้เขียน ได่อ่านบทความชอง AIHR เมื่อเร็ว ๆ นี้ เกี่ยวกับ Organizational Citizenship Behavior  แล้ว  พิจารณาแล้ว เห็นว่า มีความสำคัญมากสำหรับ ผู้บริหารงานทรัพยากรมนุษย์ทุกคน  โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ซึงเป็นยุคของการใช้ Social Media  พฤติกรรมใด ๆ ที่พนักงานของเราได้แสดงออก ไม่ว่า จะด้วย คำพูด  ท่าทาง  การเขียน Post  และการ Comment ต่าง ๆ ใน Social Media ที่แสดงถึง ความเกลียดชัง  การดูถูก  การ Bully คนอื่น ๆ   หรือ ความคิดที่มันขัดแย้งกับ ความเชื่อ ประเพณีปฏิบัติ ของคนส่วนใหญ่แล้ว  ย่อมมีผลในทางลบต่อพนักงาน และส่งผลถึงองค์กรโดยรวมด้วยเช่นกัน  ดังเช่นที่มีปัญหากันในปัจจุบัน  เช่น ดารา ไปแสดงความคิดเห็นเรื่อง การชุมนุม  ในโซเซียลมีเดีย  คนที่ไม่พอใจ มา Ban ภาพยนตร์ที่ดารานี้แสดงนำ  เป็นต้น  ในทางกลับกัน   พนักงานที่มีพฤติกรรมที่ดี ช่วยเหลือสังคม   สังคมรับรู้ มีการแพร่ข่าวสารใน Social Media  ชื่นชมพนักงาน และก็ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กรที่ดีด้วย เช่นกัน

ดังนั้น   พวกเรา ชาว HRBP  ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับทัศนคติของพนักงานในการแสดงออกถึงพฤติกรรมต่อสาธารณะ ซึ่งจะมีผลย้อนกลับไปกับภาพพจน์องค์กร และอาจรวมถึงผลประกอบการในที่สุด   ดังนั้น  หลักการของ OCB  น่าสนใจทีมาศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้ในงานของเรา

OCB   คือ  ข้อควรปฏิบัติ เพื่อช่วยให้การทำงานของพนักงานมีประสิทธิภาพ ที่ไม่ได้ระบุไว้ใน  JD   หมายถึง  พฤติกรรมต่าง ๆ ที่พนักงานลงมือทำอย่างมีอิสระ แต่ส่งผลถึงองค์กร และเพื่อนร่วมงาน

รูปแบบของ OCB

1. Altruism          พนักงานที่มีพฤติกรรมช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานด้วยกัน  หรือบุคคลอื่น ๆ    โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

2. Courtesy        ความสุภาพ ให้ มีมิตรไมตรี ต่อบุคคลอื่น ๆ   เช่น  การทักทายเพื่อนร่วมงาน   เป็นต้น

3. Sportsmanship     การยอมรับความพ่ายแพ้อย่างลุกผู้ชาย  การยอมรับกับสถานการณ์ที่ไม่ได้ดำเนินไปตามแผน  แตไม่แสดงออกถึงพฤติกรรมด้านลบออกมา

4. Conscientiousness     การมีวินัย และควบคุมตนเอง  ทำงานให้เสร็จตามกำหนด

5. Civic Virtue                   ประพฤติตนตามระเบียบที่ปฏิบัติทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศีลธรรมอันดี ตามหน้าที่พลเมืองที่ดี

ประโยชน์ที่ได้รับ

·       สร้างขวัญ กำลังใจพนักงาน

·       ทำให้การทำงานในองค์กรมีความหมายและความสำคัญมากยิ่งขึ้น

·       ทำให้ผลผลิตขององค์กรดีขึ้น

·       สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนพนักงาน

·       สร้าง Brand องค์กร

 

ผู้เขียน เสนอว่า  HRBP ทุกคน ควรนำหลักการ OCB  มาประยุกต์ใช้ ตั้งแต่งาน Recruitment    การประเมินผลงาน  การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง  การให้รางวัลความดีความชอบ  เป็นต้น   ท่านใด  มีความคิดเห็น ข้อแนะนำเพิ่มเติม ส่งข้อความมาแชร์กันได้ครับ .... ขอบคุณครับ

อ. ไพบูลย์  คุเณนทราศัย

ที่ปรึกษาด้าน  HROD

FB Page :   HROD MASTER

www.hrodmaster.com